แม้ว่าที่ดินจะเป็นปัจจัยการผลิตที่ทรงคุณค่า มีมูลค่าในตลาดสูง แต่ถ้าผู้ถือครองกรรมสิทธิที่ดินเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถในด้านการลงทุน  ทำประโยชน์อจากที่ดินต่อให่ที่ดินอยู่ในทำเลที่ดีหรือมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงใดก็แทบจะไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ถือครองและเศรษฐกิจของส่วนรวม การจะขับเน้นศักยภาพของที่ดินออกมาได้อย่างเต็มที่จึงจำเป็นต้องใช้การพัฒนาที่ดินเนื่องจากการพัฒนาที่ดิน โครงการพัฒนาที่ดินถ้าอธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือการสนธิเอาเงินทุนและที่ดินมาอยู่ร่วมกัน โดยใช้เงินทุนที่มีลงทุนทำประโยชน์จากที่ดินเปล่าในด้านต่างๆ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่ว่านี้ให้มากที่สุดจำเป็นต้องใช้การบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือใช้เงินทุนอย่างประหยัดที่สุดเพื่อให้เกิดผลกำไรได้สูงสุดนั่นเอง นอกจากผลกำไรที่ได้จากการพัฒนาที่ดินแบบต่างๆ จะส่งผลโดยตรงต่อความมั่งคั่งของบรรดานักพัฒนาที่ดินแล้ว โครงการพัฒนาที่ดินยังส่งผลประโยชน์ตอบแทนให้กับเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่เพิ่มปริมาณเงินในตลาด เพิ่มปริมาณการใช้จ่าย เพิ่มอัตราการจ้างงาน ฯลฯ
 
     ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของการใช้ชีวิตซึ่งนับวันที่อยู่อาศัยที่อยู่ในทำเลดีเหมาะกับการพำนักอย่างถาวยรไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นสิ่งที่หายากขึ้นทุกที การพัฒนาที่ดินจำนวนมากในปัจจุบันจึงมุ่งทำตลาดกับความต้องการของมนุษย์ในด้านนี้ นั่นคือพัฒนาที่ดินเพื่อการสร้างเป็นเขตที่อยู่อาศัยนั่นเอง โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยนับว่าเป็นขั้นตอนในการพัฒนาที่ดินเพื่อการพานิชย์รูปแบบหนึ่ง เว้นแต่เป็นการพัฒนาที่ดินโดยภาครัฐเพื่อเป็นสวัสดิการสังคม เมื่อโครงการพัฒนาที่ดินโดยส่วนใหญ่เป็นโครงการเชิงพานิชย์ การบริหารโครงการจึงต้องใช้กระบวนการที่เน้นประสิทธิภาพ และมีกระบวนการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ เนื่องจากในกระบวนการบริหารโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินลงทุนตอนเริ่มโครงการและเงินลงทุนบริหารอย่างมหาศาล ทั้งค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง และค่าเทคนิควิศวกรรมต่างๆด้วย ถ้าปราศจาคการควบคุมและกระบวนการบริหารที่มีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็เป็นไปได้ยากที่โครงการจะประสบความสำเร็จ
 
        ที่ดินกับโรงงานอุตสาหกรรมนับว่าเป็นของคู่กันที่แทบจะแยกกันไม่ออก เพราะจะตั้งโรงงานได้ก็จะต้องมีที่ดินทำเลดี และโรงงานอุตสาหกรรมก็เป็นโครงการพัฒนาที่ดินที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั้งจุลภาคและมหภาคที่คุ้มค่ามากด้วย แต่เนื่องจากการพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมเป็นวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งมลภาวะในด้านต่างๆ  ทำให้โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมมีกระบวนการบริหารโครงการที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง คือจะต้องรวมเอาการจัดการเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเข้าไปในการบริหารโครงการด้วย ว่ากันเรื่องที่ดินกันบ้าง ที่ดินสำหรับตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องตั้งอยู่ในจุดที่ใกล้แหล่งน้ำเนื่องจากระบบของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้น้ำประกอบการทำงานของเครื่องจักร นอกจากนี้ยังต้องเป็นที่ดินแปลงใหญ่ที่มีพื้นที่มากพอกับการตั้งโรงงานและสายการผลิตอื่นๆ ในที่เดียวเพื่อลดต้นทุนในการขนย้ายปัจจัยการผลิตและสินค้าอีกด้วย
 
         การพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรถ้าเป็นสมัย 15-20 ปีก่อน ตอนที่ไทยยังเป็นเสือเศรษฐกิจ มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย อาจฟังดูเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ล้าหลังไม่มีใครสนใจ เป็นเรื่องลอยลมที่พร่ำบ่นกันในหมู่นักอนุรักษ์ แต่ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540 แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรถูกนำกลับมากล่าวถึงมากขึ้นพร้อมๆ  กับการเติบโตของกระแสความนิยมในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จนกระทั่งแนวทางโครงการพัฒนาที่ดินของไทยใช้แนวคิดนี้เป็น    หลักในการคิดคำนวณและวางหลักการแนวทางการบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน       กุญแจหลักในการบริหารโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพก็คือการจัดการการใช้สอยพื้นที่ ทรัพยากรผืนดินและผืนน้ำให้ได้คุ้มค่ามากที่สุดบนพื้นฐานของสิ่งที่มี เมื่อสะสมได้มากๆ ค่อยนำไปเพิ่มทุนทีละน้อยๆ ไม่ใช้การกูยืม นับว่าเป็นแนวทางการบริหารที่ดินที่แม้จะเติบโตได้ช้าแต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำนั่นเอง
 
          โครงการพัฒนาที่ดินในรูปแบบนี้นับว่าเป็นกระแสการพัฒนาที่ดินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหลายๆ พื้นที่ในขณะนี้ เนื่องจากให้ผลกำไรน้องๆ การพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม แต่มีความเสี่ยงในการลงทุนที่เรียกได้ว่าต่ำกว่ากันมาก เนื่องจากในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ และนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วยกันเองนิยมท่องเที่ยวแบบใกล้ชิดธรรมชาติ และนิยมที่พักแบบบูติคมากขึ้น ทำให้การพัฒนาที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องสร้างเป็นรีสอร์ทโรงแรมที่พักใหญ่โตและทำลายความงามดั้งเดิมเสมอไป แต่แค่เพียงออกแบบที่พักและบริการที่ขับเน้นความสวยงามโดดเด่นที่มีอยู่เดิมให้มากขึ้น และใช้การบริหารโครงการอย่างชาญฉลาดก็เพียงพอแล้ว การพัฒนาที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวสามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะพัฒนาเป็นที่พัก พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือบริการเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองหรือของฝาก โดยอาจส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเทศกาลหรือประเพณีในท้องถิ่นด้วยก็ได้