การใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ไม่ว่าจะเป็นสังคมในยุคใดสมัยใดก็ตามก็คือ   เรื่องของกรณีพิพาท เนื่องจากมนุษยต่างคนก็ต่างนิสัย เมื่อกรณีพิพาทเป็นเรื่องธรรมดาที่คาดการณ์ได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันแล้ว การสร้างรัฐหรือสังคมการเมืองขึ้นมาโดยหวังการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขก็จำเป็นต้องจัดให้มีกลไกจัดการข้อพิพาทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสังคมมนุษย์หลายแห่งเห็นพ้องต้องกันว่าการใช้กฎหมายเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด โดยในทางกฎหมายเรียกคดีความอันเกิดมาจากความขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างเอกชนว่าคดีแพ่งนั่นเอง คดีแพ่งจึงหมายถึงคดีระหว่างเอกชนที่ฝ่ายหนึ่งกระทำมิชอบด้วยกฎหมายแล้วทำให้ฝ่ายโจทก์เสียหาย ซึ่งฝ่ายจำเลยจำเป็นต้องชดใช้ความผิดเราเรียกขั้นตอนนี้ว่าการรับผิดทางแพ่ง คดีแพ่งเองก็เหมือนกับคดีอื่นๆคือต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งผู้ให้คำปรึกษากฎหมายฟรีต่างๆนับวง่าเป็นตัวช่วยที่สำคัญของคุณเมื่อต้องตกเป็นจำเลย หรือต้องการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง
 
      คดีแพ่งมีจุดที่แตกต่างจากคดีอาญาอย่างชัดเจนหลายประการ อย่างแรกคดีแพ่งเป็นคดีเอกชนอย่างเต็มที่จึงต้องใช้หลักกฎหมายเอกชนในการพิจารณาความ แตกต่างจากคดีอาญาที่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งคล้ายกับกฎหมายมหาชน อย่างต่อมาคือเรื่องความรับผิด เนื่องจากคดีแพ่งเป็นเรื่องของการชดเชยเยียวยาความเสียหายระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดโทษเหมือนกับกฎหมายอาญา เพียงแต่ฝ่ายจำเลยจะต้องชดใช้ชดเชยความเสียหายให้กับฝ่ายโจทก์อย่างลุแก่การละเมิดที่ทำลงไป สิ่งนี้เราเรียกว่าความรับผิดทางแพ่ง แต่ทั้งนี้ในการกระทำละเมิดแต่ละครั้งใช่ว่าจะก่อให้เกิดความรับผิดทางแพ่งหรืออาญาอย่างชัดเจน เนื่องจากในการกระทำละเมิดหนึ่งครั้งอาจก่อให้เกิดทั้งความผิดทางแพ่งและทางอาญาพร้อมๆ กัน เมื่อคุณเป็นผู้เสียหายต้องการร้องต่อศาลให้ช่วยเหลือคุณจากการกระทำของอีกฝ่าย ทางที่ดีที่สุดคุณควรขอคำปรึกษากฎหมายฟรีจากบรรดาผู้ให้คำปรึกษาจากเอกชนหรือของทางการเสียก่อน เพื่อให้เราสามารถยื่นเรื่องเอาผิดอีกฝ่ายได้อย่างครบถ้วนทุกประเด็นทั้งทางแพ่งและทางอาญา
 
      คดีแพ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นคดีที่เราจะต้องพบแทบจะตลอดช่วงชีวิตของเรา ตั้งแต่ตอนเด็กเตะบอลโดนกระจกลุงบ้านข้างๆแตก โตทำงานเลินเล่อโดนบริษัทเรียกค่าเสียหาย แกตัวลงเลี้ยงหมาแล้วหลุดไปกัดเด็กบ้านข้างๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคดีแพ่งแทบทั้งสิ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่ศาลแพ่งและที่ปรึกษากฎหมายฟรีและไม่ฟรีในคดีแพ่งจึงธุรกิจยุ่งเหยิงมีคิวไม่เว้นแต่ละวัน คดีแพ่งที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆนั้นอันดับแรกคือคดีการทำละเมิด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากขอบข่ายของความผิดทางละเมิดนั้นค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับความผิดทางแพ่งอย่างอื่น ดูได้จากคดีตัวอย่างที่ผมพูดขึ้นมาลอยๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นคดีละเมิดทั้งสิ้น ขอบข่ายของคดีละเมิดก็คือ      1. ผู้กระทำละเมิดจะต้องกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ และ 2. คือทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และทรัพย์ของผู้ถูกทำละเมิด ความรับผิดทางแพ่งที่เกิดจากการทำละเมิดจึงเกี่ยวข้องกับการชดเชยความเสียหายให้ได้ใกล้เคียงกับตอนก่อนถูกทำละเมิดมากที่สุดนั่นเอง
 
      การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งจะแตกต่างจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างสิ้นเชิงด้วยเหตุสำคัญ 2 ประการ ข้อแรก คดีแพ่งเป็นคดีเอกชนที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างเอกชนโดยแท้ (บางครั้งโจทก์หรือจำเลยอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ก็จะอยู่ในฐานะของนิติบุคคลหนึ่งในระหว่างการดำเนินคดีทางแพ่ง) กระบวนการยุติธรรมที่ใช้จึงต้องดำเนินการตามหลักกฎหมายเอกชน และข้อสอง คือ การดำเนินคดีแพ่งมีกฎหมายให้อำนาจเป็นการเฉพาะคือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั่นเอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การดำเนินคดีทางแพ่งนั้นอัยการจะไม่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งฟ้องเหมือนคดีอาญา แต่การส่งฟ้องและติดตามการดำเนินคดีจะเป็นหน้่าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งจะต้องได้รับการติดต่อจากผู้ให้ปรึกษากฎหมายฟรี หรือทนาย ของเจ้าทุกข์ (โจทก์) เสียก่อน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยขั้นต้น ถ้าการไกล่เกลี่ยไม่ประสบความสำเร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะส่งเรื่องเข้าสู่ศาล เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำหน้าที่ควบคุมเร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เรียกว่ากระบวนการบังคับคดี
 
     เมื่อคดีแพ่งได้รับการพิจารณาจนถึงที่สุดแล้ว  ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุเอาไว้ว่า จำเลยและโจทก์จะเข้าสู่ขั้นตอนของการบังคับคดี คอนเซ็ปต์ย่อๆ ง่ายๆ ของการบังคับคดีในทางแพ่งก็คือการบังคับให้คู่ความคดีแพ่งฝ่ายจำเลยยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งของศาลนั่นเอง  โดยคำสั่งศาลในคดีแพ่งนั้นโดยมากแล้วจะครอบคลุม 2 ประเด็น คือ การจ่ายค่าชดใช้หรือเยียวยาความเดือดร้อนรำคาญที่เกิดกับชีวิต ร่างกาย สุขภาพนามัย จิตใจ เสรีภาพ หรือทรัพย์ ของผู้ถูกละเมิด และอีกอย่างคือการสั่งให้กระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคำสั่งของศาลนี้ถ้าถามบรรดาผู้ให้คำปรึกษากฎหมายฟรีต่างๆ  ก็จะตอบตรงกันว่ามีสถานะเป็นคำสั่งรูปแบบหนึ่งที่ผู้ถูกกล่าวถึงในคำสั่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด    ในทางปฏิบัติจึงต้องเป็นหน้าที่ของพนักงานบังคับคดีที่จะกระตุ้นให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าจำเลยไม่สามารถจ่ายค่าเสียหายได้ครบถ้วน ก็จะเป็นผู้ดำเนินการฟ้องล้มละลายด้วยนั่นเอง ส่วนในกรณีของการสั่งให้ทำหรือละเว้นการกระทำพนักงานบังคับคดีก็จะมีหน้าที่ตรวจสอบว่าจำเลยปฏิบัติตามที่ศาลสั่งอย่างเคร่งครัดหรือไม่