การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งจะแตกต่างจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างสิ้นเชิงด้วยเหตุสำคัญ 2 ประการ ข้อแรก คดีแพ่งเป็นคดีเอกชนที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างเอกชนโดยแท้ (บางครั้งโจทก์หรือจำเลยอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ก็จะอยู่ในฐานะของนิติบุคคลหนึ่งในระหว่างการดำเนินคดีทางแพ่ง) กระบวนการยุติธรรมที่ใช้จึงต้องดำเนินการตามหลักกฎหมายเอกชน และข้อสอง คือ การดำเนินคดีแพ่งมีกฎหมายให้อำนาจเป็นการเฉพาะคือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั่นเอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การดำเนินคดีทางแพ่งนั้นอัยการจะไม่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งฟ้องเหมือนคดีอาญา แต่การส่งฟ้องและติดตามการดำเนินคดีจะเป็นหน้่าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งจะต้องได้รับการติดต่อจากผู้ให้ปรึกษากฎหมายฟรี หรือทนาย ของเจ้าทุกข์ (โจทก์) เสียก่อน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยขั้นต้น ถ้าการไกล่เกลี่ยไม่ประสบความสำเร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะส่งเรื่องเข้าสู่ศาล เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำหน้าที่ควบคุมเร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เรียกว่ากระบวนการบังคับคดี



Leave a Reply.