เมื่อคดีแพ่งได้รับการพิจารณาจนถึงที่สุดแล้ว  ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุเอาไว้ว่า จำเลยและโจทก์จะเข้าสู่ขั้นตอนของการบังคับคดี คอนเซ็ปต์ย่อๆ ง่ายๆ ของการบังคับคดีในทางแพ่งก็คือการบังคับให้คู่ความคดีแพ่งฝ่ายจำเลยยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งของศาลนั่นเอง  โดยคำสั่งศาลในคดีแพ่งนั้นโดยมากแล้วจะครอบคลุม 2 ประเด็น คือ การจ่ายค่าชดใช้หรือเยียวยาความเดือดร้อนรำคาญที่เกิดกับชีวิต ร่างกาย สุขภาพนามัย จิตใจ เสรีภาพ หรือทรัพย์ ของผู้ถูกละเมิด และอีกอย่างคือการสั่งให้กระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคำสั่งของศาลนี้ถ้าถามบรรดาผู้ให้คำปรึกษากฎหมายฟรีต่างๆ  ก็จะตอบตรงกันว่ามีสถานะเป็นคำสั่งรูปแบบหนึ่งที่ผู้ถูกกล่าวถึงในคำสั่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด    ในทางปฏิบัติจึงต้องเป็นหน้าที่ของพนักงานบังคับคดีที่จะกระตุ้นให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าจำเลยไม่สามารถจ่ายค่าเสียหายได้ครบถ้วน ก็จะเป็นผู้ดำเนินการฟ้องล้มละลายด้วยนั่นเอง ส่วนในกรณีของการสั่งให้ทำหรือละเว้นการกระทำพนักงานบังคับคดีก็จะมีหน้าที่ตรวจสอบว่าจำเลยปฏิบัติตามที่ศาลสั่งอย่างเคร่งครัดหรือไม่
TS INTERLAW
10/14/2013 01:54:25 pm

ปรึกษากฎหมายฟรี สำหรับประชาชนทั่วไป โดยทนายเชี่ยวชาญด้านคดี ติดต่อ อ.ธเนศ อุ่นศิริ 081-3010350 หรือ 0891692277
Introduce in Thai Law For Free tel. 0891692277 or 081-3010350
หรือ เฟคบุคล์ คำว่า ธเนศ อุ่นศิริ https://www.facebook.com/home.php?ref=wizard#!/profile.php?id=100006590947638

Reply



Leave a Reply.